Module 5

การดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เสี่ยงหรือเกี่ยวข้องกับยาเสพติด

               การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีพัฒนาการที่เหมาะสม ครบถ้วน ทั้งทางด้านร่างกายจิตใจ สติปัญญา ความสามารถ มีสมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามเจตนารมณ์ของหลักสูตรโดยผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายนั้น นอกจากจะดำเนินการสนับสนุนส่งเสริม ด้วยวิธีการที่เหมาะสมทันยุค ทันสมัยแล้ว สถานศึกษายังต้องดำเนินการคุ้มครองป้องกัน แก้ไขและให้การดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ปลอดภัยจากสถานการณ์ปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะปัญหายาเสพติด ที่ส่งผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชนและลุกลามเข้าสู่สถานศึกษา อันจะนำไปสู่ความสูญเสียทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้นสถานศึกษาจึงจำเป็นต้องมีกลไกหรือเครื่องมือที่เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพความจำเป็นของสถานศึกษาแต่ละแห่ง และเครื่องมือที่ได้ผล สามารถดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้อย่างครอบคลุม ทั้งกลุ่มผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงกลุ่มที่ต้องดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด คือระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

               ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นกระบวนการดำเนินงานที่มีแบบแผน มีขั้นตอน มีผู้รับผิดชอบ มีเครือข่ายการดำเนินงาน ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา มีบทเรียนความสำเร็จและความล้มเหลวในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในแต่ละกรณี ครู อาจารย์ทุกคน ควรมีความเสียสละอุทิศตนในการทำงาน ที่อาจนอกเหนือไปจากการทำหน้าที่การจัดการเรียนรู้เพียงอย่างเดียว การได้เห็นผู้เรียนในทุกมิติ ทั้งในด้านสติปัญญา อารมณ์ สุขภาพ สวัสดิภาพและชีวิตความเป็นอยู่ในครอบครัว จะช่วยทำให้การทำงานของครูเป็นไปอย่างถูกต้อง ถูกวิธี ทันเวลา ลดโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้ผู้เรียนล้มเหลวจนเกิดความสูญเปล่าในการจัดการศึกษาของระบบการจัดการศึกษาโดยภาพรวม

รายชื่อวิทยากร

  • นายสันติสุข สันติศาสนสุข ข้าราชการบำนาญ สพฐ.
  • พญ.ภัทราภรณ์ กินร จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี
  • อ.วิภา เกตุเทพา ข้าราชการบำนาญ โรงเรียนสตรีวิทยา 2

เอกสารประกอบ

 

Module 5

บทนำ & Pre-Test

  • จำนวนหัวข้อ : 2
  • ความคืบหน้า : 2/2
หัวข้อเรียนรู้

Module 5

บทสรุป & Post-Test

  • จำนวนหัวข้อ : 2
  • ความคืบหน้า : 2/2
หัวข้อเรียนรู้

สงวนลิขสิทธิ์ © 2566 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน | รับออกแบบเว็บไซต์